สวนฝัน

สวนฝัน

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

 




          หนังสือ...นอกไหว  ในนิ่ง... เขียนโดย อาจารย์ ชาตรี  สำราญ(ครูรางวัลคุณากร ปี พ.ศ. ๒๕๕๘)  จัดพิมพ์โดย สำนักพัฒนาคุณภาพครู  นักศึกษาครู  และ สถานศึกษา  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.)
          อาจารย์ กฤษณพงศ์  กีรติกร  ประธานคณะกรรมการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และ ที่ปรึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.)  กรุณาเขียนคำนิยมไว้ตอนหนึ่งว่า ... เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของครูนอกตำรา ที่สอนเราเสมอว่า ความเป็นครูนั้นไม่มีรูปแบบตายตัว  เพราะครูไม่ใช่แค่สอนหนังสือ แต่ต้องสอนการใช้ชีวิตของคนที่อยู่บนโลกของความเป็นจริง ...
          ...หนังสือ "นอกไหว ในนิ่ง" เล่มนี้จึงมีนัยของชีวิตคน ที่ครูชาตรีถ่ายทอด ร้อยเรียงออกมาเป็นคำง่าย ๆ อ่านแล้วสะท้อนความคิดของตนเองจนลืมสังขารที่ท้อถอย เพราะทุกคำล้วนแฝงไปด้วยข้อคิด ธรรมะของคนที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ กับเพื่อนมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนหมดลมหายใจ ...

          หรือจะเป็น ดร.เบญจลักษณ์  น้ำฟ้า  ที่กรุณาเขียนคำนิยมไว้ว่า ... อ่านบทกวีของท่านอาจารย์ ชาตรี  สำราญ  "นอกไหว ในนิ่ง" ด้วยความพิถีพิถัน  อาจารย์เป็นผู้มีความเป็นเลิศในการใช้ภาษาที่เรียบ ง่าย ลึกซึ้ง  อาจารย์พาเราเดินทางด้วยการคิดตาม วิเคราะห์ตาม จินตนาการตาม  ท้ายที่สุดเมื่ออ่านจบ  ได้รู้สึกถึงความเป็นองค์รวมของความคงอยู่อย่างมีเหตุผล และมีแรงบันดาลใจ  รู้สึกโชคดีที่ได้รู้จักและเป็นศิษย์ของอาจารย์
           นอกจากนั้น  ดร.จักรพรรดิ  วะทา  ยังได้กรุณาเล่าให้ฟังอีกว่า ... ผม( ดร.จักรพรรดิ  วะทา)รู้จักและคุ้นเคยกับครูชาตรี  สำราญ มาเป็นเวลานาน  โดยได้รู้จักผ่านงานเขียนและผลงานของครูชาตรีเป็นลำดับแรก  ต่อมา ก็ได้พบปะพูดคุยและทำงานร่วมกัน  ครูชาตรีเป็นนักคิด นักปฏิบัติ และนักเขียน  กล่าวคือ  คิดสร้างสรรค์ในงาน  เมื่อคิดได้แล้วก็นำไปปฏิบัติ  เมื่อปฏิบัติเห็นผลดีแล้วก็นำมาเขียนเผยแพร่ขยายผลไปยังเพื่อนครูอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นงานเกี่ยวกับการศึกษาและบทบาทหน้าที่ของครูนั่นเอง  แต่หนังสือ  "นอกไหว ในนิ่ง" ที่ครูชาตรี  สำราญ เขียนขึ้นครั้งนี้สร้างความแปลกใจและความทึ่งให้กับผมเป็อย่างมาก  เนื่องจาก   "นอกไหว ในนิ่ง"  มีความแปลกใหม่ทั้งรูปแบบการเขียนและเนื้อหาสาระที่เต็มไปด้วยความสวยงามเรียบง่ายของภาษาและนัยที่เป็นนัยยะแห่งชีวิต
          การเล่าเรื่องจิตของครูชาตรีครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากจิตมีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถเดินทางไปทุกที่ได้อย่างรวดเร็วและอาจจะกลับได้ช้าสำหรับผู้ฝึกการควบคุมจิตไม่ดีพอ การเดินทางของจิตที่ครูชาตรีนำมาเล่าในหนังสือ  "นอกไหว ในนิ่ง"  นี้ มีทั้งความงดงาม ความฟุ้งซ่าน คึกคะนอง และตื่นรู้ในแต่ละเสี้ยวชีวิต ตามการปรุงแต่งของจิต  อาจกล่าวได้ว่า "จิตไปก็คือฝัน จิตกลับก็คือดับฝัน" นั่นเอง ... ฯลฯ  ขอขอบคุณครูชาตรี  สำราญ เป็นอย่างสูงที่ช่วยเตือนให้จิตของผมเดินทางอย่างมีสติ เป็น กรอบที่ดีและยังความไม่ประมาท...

          นี่คือ เหตุผลที่ผม(รุจิเรข อภิรมย์) นำเอาชื่อของหนังสือเล่มนี้มาเป็นประเด็นให้เพื่อน ๆ ได้ช่วยกันบอกว่า ... ท่านมองเห็นอะไรจากชื่อหนังสือเล่มนี้บ้าง ? ... 


มีเพื่อน ๆ บางท่านมาร่วมแสดงความคิดเห็น  ดังนี้ :-